การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร
การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการศึกษาการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อกำหนดว่าจะซื้อหรือขายทรัพย์สินหนึ่ง ๆ หรือไม่ และที่ราคาเท่าไหร่
ซึ่งจะดำเนินการโดยตรงบนกราฟราคาของทรัพย์สิน โดยมีตัวชี้วัดทางเทคนิคเป็นตัวช่วย เช่น RSI หรือ MACD หรือด้วยเครื่องมืออย่าง เส้นแนวรับ/เส้นแนวต้าน (support/resistance) Fibonacci Retracement หรือด้วยเครื่องมือต่าง ๆ รวมกัน
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะบอกว่า “แนวโน้มเป็นเพื่อนของคุณ” และ “อย่าพยายามขึ้นขี่ม้าที่วิ่งสวนทางกับแนวโน้ม” คุณจะประสบความสำเร็จในการเทรดมากกว่าหากใช้แนวโน้มตลาดในช่วงเวลาที่ยาว และไม่ต้องทำอะไรกับตลาดที่มีทิศทางไม่แน่นอน
เมื่อนักวิเคราะห์ระบุแนวโน้มหนึ่ง ๆ ได้ ขั้นถัดไปคือพยายามทำนายว่าแนวโน้มนั้นจะไปไกลแค่ไหน หรือว่าแนวโน้มนั้นจะอ่อนแรงไป เพื่อประเมินว่าจะมีโอกาสในการเข้าซื้อขายหรือไม่ แนวคิดนี้ใช้เพื่อการเข้าซื้อในราคาที่ต่ำที่สุดขณะที่อยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) และขายในราคาที่สูงที่สุดขณะตลาดอยู่ในขาลง (Downtrend)
แนวโน้มตลาดจะมาจาก ราคาเคลื่อนไหวและราคาพักตัว (pulse and retracement) ในรูปร่างซิกแซก ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ระดับแนวรับและแนวต้าน ระดับเส้นแนวรับคือราคาที่เทรดเดอร์ยินดีที่จะซื้อทรัพย์สินนั้น ๆ ขณะที่เส้นแนวต้านคือราคาที่เทรดเดอร์ยินดีที่จะขายทรัพย์สินออกไป ระดับที่เก่ากว่าจะมีพลังมากกว่าระดับใหม่ และเมื่อถึงระดับหนึ่ง ๆ แล้ว ระดับจะสามารถสลับกลับหัวได้เพื่อให้ระดับแนวรับเดิมกลายมาเป็นระดับแนวต้านใหม่ และระดับแนวต้านเดิมเป็นระดับแนวรับใหม่
การวิเคราะห์หลายกรอบเวลาคืออะไร
ควรตรวจสอบการวิเคราะห์ทางเทคนิคในหลายกรอบเวลา ตั้งแต่กราฟรายเดือน (แต่ละแท่งเทียนคือระยะเวลา 1 เดือน) ไปจนถึง 1 ชั่วโมง กรอบเวลาที่นานกว่า เช่น รายสัปดาห์หรือรายเดือน จะสามารถยืนยันแนวโน้มหลักได้ดีกว่า ขณะที่กรอบเวลาที่สั้นกว่า เช่น รายวัน หรือทุก 4 ชั่วโมง จะช่วยให้บอกถึงโอกาสในการเข้าซื้อขายได้ดีที่สุด